ข่าวบันเทิง
มีใหญ่ก็ต้องมีเล็ก ! คืน 22 เม.ย.นี้ ชม ไมโครมูน จันทร์เต็มดวงจิ๋วสุดในรอบปี
17:01
มีใหญ่ก็ต้องมีเล็ก ! คืน 22 เม.ย.นี้ ชม ไมโครมูน จันทร์เต็มดวงจิ๋วสุดในรอบปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยคืนวันที่ 22 เมษายนนี้ ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดเล็กที่สุดในรอบปี เรียก “ไมโครมูน” เหตุเป็นคืนเดือนเพ็ญที่ดวงจันทร์โคจรห่างจากโลกมากที่สุด
ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า วันที่ 22 เมษายน 2559 ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงและโคจรอยู่ห่างจากโลกที่สุด ที่ระยะห่างประมาณ 406,248 กิโลเมตร ในเวลาประมาณ 12.25 น. ตามเวลาในประเทศไทย ทำให้คืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กที่สุดในรอบปี เรียกว่า “ไมโครมูน” และหากเปรียบเทียบขนาดของดวงจันทร์เต็มดวงขณะโคจรมาใกล้โลกกับไกลโลกที่สุด ช่วงไกลโลกที่สุดจะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าประมาณ 14% และมีความสว่างน้อยกว่าถึง 30% ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ที่ระยะห่างประมาณ 406,401 กิโลเมตร ส่วนดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในปีนี้ จะเห็นดวงจันทร์สุกสว่างและโตที่สุดในคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงพอดี
ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า วันที่ 22 เมษายน 2559 ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงและโคจรอยู่ห่างจากโลกที่สุด ที่ระยะห่างประมาณ 406,248 กิโลเมตร ในเวลาประมาณ 12.25 น. ตามเวลาในประเทศไทย ทำให้คืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กที่สุดในรอบปี เรียกว่า “ไมโครมูน” และหากเปรียบเทียบขนาดของดวงจันทร์เต็มดวงขณะโคจรมาใกล้โลกกับไกลโลกที่สุด ช่วงไกลโลกที่สุดจะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าประมาณ 14% และมีความสว่างน้อยกว่าถึง 30% ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ที่ระยะห่างประมาณ 406,401 กิโลเมตร ส่วนดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในปีนี้ จะเห็นดวงจันทร์สุกสว่างและโตที่สุดในคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงพอดี
ทั้งนี้ ดร. ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปกติแล้วดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรีจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก 1 รอบ ใช้ระยะเวลา 1 เดือน แต่ละเดือน จะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ไกลโลกและดวงจันทร์ใกล้โลก จุดที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร ส่วนจุดที่ดวงจันทร์ห่างจากโลกมากที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนที่โคจรเข้ามาใกล้โลก หรือไกลจากโลกนับว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยา ศาสตร์
ที่มา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
0 ความคิดเห็น